วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

ผ้าทอกะเหรี่ยงชาวปกากะญอ


ชื่อ นางสาวธัญญากร ฟองศรี รหัสนักศึกษา 57142538
วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต รหัสวิชา GSCI11021 Sec.29


ผ้าทอกะเหรี่ยงชาวปกากะญอ  





ประวัติของผ้าทอกะเหรี่ยงชาวปกากะญอ


     ชาวปกากะญอ หรือกะเหรี่ยง นิยมใส่เสื้อผ้าฝ้ายทอมือมาแต่สมัยโบราณ ซึ่งแต่เดิมชาวกะเหรี่ยงจะปลูกฝ้ายเอง นำฝ้ายมาปั่นเป็นเส้นด้าย ย้อมด้วยสีธรรมชาติ สร้างลวดลายด้วยการทอ การปักด้วยเส้นไหม และลูกเดือย สตรีชาวกะเหรี่ยง จะถ่ายทอดภูมิปัญญากระบวนการผลิตผ้าทอ แก่บุตรสาอายุ 12-15 ปี ริ่มจากแบบง่ายๆ ฝึกฝนจนมีความชำนาญ และสามารถออกแบบลวดลายด้วยตนเองได้สำหรับลวดลายผ้าทอของชาวกะเหรี่ยงนั้น มีเรื่องราวเล่าสืบมาว่า ได้มาจากลายหนังงูใหญ่ ซึ่งเป็นคู่รักในอดีตของหญิงสาวชาวกะเหรี่ยง โดยงูจะเปลี่ยนลายทุกวัน และหญิงสาวก็ทอผ้าตามลายที่ปรากฏจนครบ 7 วัน ทอได้ 7 ลาย แต่ลายที่นิยมนำมาทอ และปัก มี 4 ราย คือ โยห่อกือ เกอเป่เผลอ ฉุ่ยข่อลอ อีกลายหนึ่ง คือ ลายทีข่า ปัจจุบัน ยังมีลายที่นิยมทอ คือ เกอแนเดอ หรือลายรังผึ้ง และเซอกอพอ หรือ ลายดอกมะเขือ 




     การทอผ้า เป็นวิถีอีกอย่างหนึ่งของชาวปกากะญอที่สืบ­ทอดกันมายาวนาน เด็กผู้หญิงจะเรียนรู้จากแม่ของพวกเธอ แต่ปัจจุบันนี้มีระบบโรงเรียน เด็กๆต้องไปโรงเรียน ดังนั้นในช่วงปิดเทอม เด็กๆจึงรวมกลุ่มกันมาเรียนการทอผ้า เป็นภาพที่น่าประทับใจอีกภาพหนึ่ง



สีในการย้อมและของตกแต่งผ้าทอกะเหรี่ยงชาวปกากะญอ


     การย้อมผ้าฝ้ายสีธรรมชาติ ใช้เปลือกไม้ เรียกว่า ซาโก่แระ จะได้เป็นสีแดงแกมน้ำตาล ใบฮ่อม เซอ หย่า เหล่า ให้สีน้ำเงินแกมกรมท่า ผลสมอ ให้สีน้ำตาล และผลมะขามป้อมให้สีเทา เป็นต้น ชาวกะเหรี่ยงสร้างสรรค์ลวดลาย สีสันของผ้าทอจากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว จึงมีความสวยงาม และคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์โดดเด่นของชาวกะเหรี่ยง มีการนำเมล็ดเดือย ซึ่งเป็นวัชพืชป่า ปักบนผืนผ้า สร้างเป็นลวดลายลักษณะเฉพาะ เป็นที่สะดุดตาแก่บุคคลภายนอก ซึ่งสนใจซื้อหาไปสวมใส่ และเป็นของฝาก ทำให้สตรีชาวกะเหรี่ยงสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอเพื่อการจำหน่าย 
     นอกเหนือจากการทอผ้าไว้ใช้ในครัวเรือน เป็นการสร้างรายได้เพิ่มอีกทางหนึ่ง ของผ้าทอกะเหรี่ยง ตามโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ได้รับการพัฒนาคุณภาพ รูปแบบให้เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น สร้างงาน สร้างรายได้แก่ผู้ผลิต อย่างยั่งยืน ตลอดจนสืบสานภูมิปัญญาชาวกะเหลี่ยง เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ของจังหวัดตาก


ยกระดับผ้าทอกะเหรี่ยง “กะเหรี่ยงโกอินเตอร์”


     ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ผ้าทอกะเหรี่ยงเป็นภูมิปัญญาการทอผ้า กี่เอว ด้วยเทคนิคที่มีเอกลักษณ์เฉพาะชาวกะเหรี่ยงเผ่าปกากะญอ ซึ่งเป็นชนเผ่ากะเหรี่ยงในจังหวัดตาก มีการเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวด้วยการทอผ้า ที่เรียกว่า การกี่เอว ซึ่งเป็นวิธีการทอผ้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์สูง มีการสืบทอดมายาวนานกว่าร้อยปี 
     โดยครั้งเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร ได้มีพระราชดำรัสให้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสนับสนุนและส่งเสริมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผ้ากะเหรี่ยง เพื่อการรักษาไว้ซึ่งศิลปะการทอผ้าด้วยกี่เอวที่ถือว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะแห่งเดียวในโลก พร้อมมุ่งหวังให้ราษฎรกะเหรี่ยงเกิดการอนุรักษ์วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และมีรายได้ที่เพียงพอในการดำรงชีวิตในปัจจุบัน 
     ผ้าทอกะเหรี่ยง สินค้าพื้นบ้านของชนเผ่าปกากะญอ ซึ่งเป็นชนเผ่ากะเหรี่ยงในจังหวัดตาก และความงดงามอันเป็นเอกลักษณ์ของผ้าทอ ทำให้นักท่องเที่ยวที่ได้มีโอกาสไปท่องเที่ยวมักจะซื้อผ้าทอกะเหรี่ยงกลับมาเป็นของฝาก และด้วยความงดงามอันเป็นเอกลักษณ์นี่เองได้เป็นที่มาของแนวคิดการพัฒนาและยกระดับผ้าทอกะเหรี่ยงขึ้นมาในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ 





     ผ้าทอกะเหรี่ยง มีความงดงามและเป็นเอกลักษณ์ของผ้าทอทีไม่เหมือนใครการทอผ้าทอกะเหรี่ยง เป็นภูมิปัญญาการทอผ้าแบบ กี่เอว ด้วยเทคนิคที่มีเอกลักษณ์เฉพาะชาวกะเหรี่ยงเผ่าปกากะญอ การกี่เอว ซึ่งเป็นวิธีการทอผ้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์สูง มีการสืบทอดมายาวนานกว่าร้อยปี ถือว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะแห่งเดียวในโลก จึงต้องอนุรักษ์ไว้ให้อยู่ถึงลูกถึงหลานต่อไป

แหล่งที่มา